นับถอยหลัง 9 สัปดาห์ก่อนถึง เบอร์ลินมาราธอน : วิ่ง ฮาล์ฟ อย่างไรให้ได้ตำ่กว่า 1.45 ชั่วโมง
"การวิ่งเพื่อชนะ" และ "วิ่งเพื่อไม่ให้แพ้" นั้นเป็นการวิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ผมเคยเป็นคนที่วิ่งด้วยความรู้สึกว่า ไม่อยากแพ้ และ กลัวว่าจะวิ่งทำเวลาได้ไม่ดี จริงๆแล้วนักวิ่งทุกคนก็คงเคยมีความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นในช่วงการซ้อมและการแข่ง และสุดท้ายความรู้สึกเหล่านี้เองที่เป็นตัวบั่นทอนเราไม่ให้ได้สถิติที่ดีที่สุด
นับถอยหลัง 9 สัปดาห์ก่อนถึง เบอร์ลินมาราธอน : วิ่ง ฮาล์ฟ อย่างไรให้ได้ตำ่กว่า 1.45 ชั่วโมง
ผมพึ่งเดินทางกลับมาจาก St.Petersburg ครั้งนี้เป็นการเดินทางเพื่อไปวิ่งในงาน St. Petersburg Half Marathon ที่ประเทศ รัสเซีย ก่อนไปแข่งคร้งนี้ผมแทบจะไม่มีความมั่นใจอะไรเหลืออยู่นัก และไม่รู้เลยว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร
มันเหมือนกับว่าหลังจากงาน 70.3 Busseleton จบลงไป และต้องเริ่มใหม่ทั้งหมดในการซ้อมวิ่งเพื่อลงมาราธอน ผมยังคงไม่รู้ว่าสภาพร่างกายของตัวเองอยู่ตรงจุดไหน
เมื่อวันแข่งมาถึง ทางแข่งที่ไม่ยากเกินไป บวกกับสภาพอากาศที่สมบูรณ์แบบ และ สภาพร่างกายและจิตใจที่พักผ่อนอย่างเต็มที่ ทำให้ผมสามารถทำลายสถิติการวิ่ง Half Marathon ของตัวเองได้ มาดูกันครับ ว่านอกจากเหตุผลที่ได้พูดถึงแล้ว ยังมีสาเหตุไหนที่ทำให้เราสามารถวิ่งได้ดีขึ้นอีกบ้าง
ซ้อมอะไรบ้าง ? (ออกแบบการซ้อมโดย สุทัศน์ กัลยาณกิตติ)
*Mon: rest
Tue: 12 km mid long run (easy to moderate)
Wed: 12 km run (include 8 x 800m )
Thu: rest
Fri: 5 km easy run
Sat: Rest
Sun: Race day (21 km )
*
Total 50 km
รู้สึกอย่างไร?
จนถึงเวลาที่ต้องยืนอยู่ที่จุด Start ผมก็ยังคงไม่แน่ใจเท่าไรนัก ว่าสุดท้ายแล้วการแข่งนี้จะจบลงแบบไหน ในใจลึกๆนั้นหวังว่าเราจะทำสถิติใหม่ขึ้นมา หลังจากที่เคยวิ่งไว้ที่งานบุรีรัมย์เมื่อปี 2017(1:44:48 ชม) แต่อีกใจหนึ่งก็คิดว่า แค่จบก่อนเวลา 1.50 ชั่วโมง ก็พอแล้ว
ผมวิ่งในเพซกลางๆในช่วงห้ากิโลเมตรแรกและ พยายามอยู่กับกลุ่ม Pacer 1.49 ชม ไปก่อน หลังจากสามกิโลเมตรผ่านไป ผมยังคงรู้สึกดีมากๆและพร้อมที่จะวิ่งในเพซที่เร็วขึ้น จึงตัดสินใจวิ่งฉีกออกมาจากกลุ่มและทำความเร็วด้วยตัวเองไปเรื่อยๆ
ผมยังคงวิ่งได้ดีและทำความเร็วได้สม่ำเสมอจนกระทั่งถึง กิโลเมตรที่ 15 ที่ร่างกายเริ่มส่งสัญญาณอาการเหนื่อยล้าออกมา กับระยะทางที่เหลืออยู่ประมาณ 5-6 กิโลเมตร ผมพยายามวิ่งให้ได้ ที่ เพซ 4.50 นาที/กิโลเมตรให้ได้นานที่สุด
ช่วง 3 กิโลเมตรสุดท้าย น่าจะเป็นช่วงที่ยากที่สุด รวมถึงขาทั้งสองข้างเริ่มแสดงอาการออกมา แต่ผมยังคงพยายามวิ่งที่เพซเดิมจนเข้าเส้นชัย และ ได้สถิติใหม่ที่ดีขึ้น 20 วินาที
สิ่งที่คุณนำไปปรับใช้ได้
การวิ่งเพื่อชนะ และ วิ่งเพื่อไม่ให้แพ้ นั้นเป็นการวิ่งที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ผมเคยเป็นคนที่วิ่งด้วยความรู้สึกว่า ไม่อยากแพ้ และ กลัวว่าจะวิ่งทำเวลาได้ไม่ดี
จริงๆแล้วนักวิ่งทุกคนก็คงเคยมีความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นในช่วงการซ้อมและการแข่ง และสุดท้ายความรู้สึกเหล่านี้เองที่เป็นตัวบั่นทอนเราไม่ให้ได้สถิติที่ดีที่สุด
ถ้าคุณลองปรับเปลี่ยนทัศนคติในการแข่ง จาก "แข่งเพื่อไม่ให้แพ้" เป็น "แข่งเพื่อให้ชนะ" หรือแทนที่คุณจะ คิดว่า ไม่อยากให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นในการแข่ง ลองเปลี่ยนมา คิดว่า วันนี้คุณต้องการให้อะไรเกิดขึ้นและจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น ผมเชื่อว่าการเปลี่ยนความคิดนี้จะช่วยให้คุณมีผลการแข่งที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
TCtriathlon
click here to read more of TCtriathlon's blog
click here to subscribe and get a FREE 16 weeks marathon
TC Triathlon
Subscribe, like and share for more useful articles, photos and videos.